ตุ่มเอดส์ อาการเริ่มต้นของการติดเชื้อ HIV
ตุ่มเอดส์หรือที่บางคนชอบเรียกว่าผื่นหรือตุ่ม HIV นั้น เป็นหนึ่งในอาการเริ่มต้นของผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกหลังรับเชื้อ อย่างไรก็ตามการที่มีตุ่มขึ้นอาจเป็นสาเหตุของการได้รับยารักษาการติดเชื้อ HIV ด้วยเช่นกัน โดยผื่นนี้จะเรียกกันว่า ผื่น PPE ที่ทำให้เกิดอาการคันร่วมด้วย โดยหากเราได้รับความเสี่ยงและมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบตรวจหาเชื้อโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้วางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ที่นี่)
ผื่นหรือตุ่มที่ขึ้นบนผิวหนัง เป็นอาการของการติดเชื้อไวรัส HIV ที่จะเกิดขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกที่ได้รับเชื้อไวรัส แต่ผื่นนี้อาจทำให้ผู้ตรวจระบุผิดพลาดว่าเป็นการติดเชื้อของไวรัสตัวอื่นได้เช่นกัน ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะระบุผื่นชนิดนี้ด้วยเครื่องมือการตรวจที่ทันสมัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ
สาเหตุของการเกิดตุ่มเอดส์
90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus: HIV) จะมีอาการทางผิวหนังในบางระยะของการเป็นโรค หนึ่งในอาการนั้นก็คือ ผื่นขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อไวรัส HIV โดยตรง หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาที่รักษาการติดเชื้อไวรัส HIV ก็ได้
ยาที่รักษาโรค HIV
ยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัส HIV นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ ที่สามารถทำให้เกิดผื่นได้
- Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) เช่น Nevirapine (Viramune) เป็นยาที่พบว่า ก่อให้เกิดผื่นที่ผิวหนังได้บ่อยที่สุด
- Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTI) เช่น Abacavir (Ziagen)
- Protease inhibitors (PIs) เช่น amprenavir (Agenerase) และ tipranavir (Aptivus)
อาการเอดส์ (หลังรับเชื้อ HIV) ที่ต้องสังเกต
ไม่ว่าผื่นนั้นจะเกิดจากการใช้ยา หรือจากตัวเชื้อไวรัส HIV เอง โดยส่วนใหญ่ผื่นนั้นจะมีสีแดงแบนบนผิวหนังและมีตุ่มนูนแดงอยู่ด้านบน
อาการร่วมของการมีผื่น คือ อาการคัน ซึ่งเกิดขึ้นที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่โดยส่วนมากมักจะพบขึ้นที่บริเวณใบหน้าและหน้าอก บางครั้งพบที่เท้า และมือ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดแผลที่ปากได้อีกด้วย
ความรุนแรงของผื่น
ผื่นบางชนิดมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่บางชนิดจะทำให้เกิดการทำลายผิวหนังอย่างรุนแรงถึงขั้นอันตรายแก่ชีวิตได้
ผื่นที่พบได้น้อยแต่รุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ยา เรียกว่า “ผื่นกลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome: SJS)” เมื่อผื่นชนิดขึ้นและมีอาการมากกว่า 30% ของร่างกาย จะเรียกว่า “Toxic Epidermal Necrolysis” อาการของกลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ประกอบด้วย
- ตุ่มน้ำบนผิวหนังและเยื่อบุ
- ผื่นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีไข้
- ลิ้นบวม
การรักษาโดยการการควบคุมปริมาณไวรัส และรักษาระบบภูมิคุ้มกันจะช่วยให้อาการทางผิวหนังไม่รุนแรง และพบผื่นหรือตุ่มเอดส์ได้น้อยลง ทั้งยังทำให้ผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นสามารถรักษาได้ง่ายขึ้น
การรักษาที่ใช้มากที่สุด คือ การใช้ยา โดยขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่น การใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรือ diphenhydramine (Benadryl) นั้น จะช่วยลดอาการคันและขนาดของผื่นได้ ผื่นที่รุนแรงกว่านั้น จำเป็นต้องใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่ายโดยเฉพาะ
การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต
นอกจากการใช้ยาในการรักษาแล้ว การปรับวิธีการใช้ชีวิตบางอย่างก็อาจช่วยลดอาการของการเกิดผื่นที่ไม่รุนแรงได้ด้วย ได้แก่ การหลีกเลี่ยงความร้อน น้ำร้อน การโดนแดดโดยตรงเพื่อให้ผื่นดีขึ้นและไม่ลุกลาม
อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้ยาตัวใหม่ สบู่ เคมีภัณฑ์ หรืออาหารใหม่ๆ นั้นอาจก่อให้เกิดผื่นได้ ในกรณีเหล่านี้ ผื่นนั้นอาจจะเกิดจากโรคภูมิแพ้ได้อีกด้วย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส HIV ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ หากสังเกตเห็นผื่นขึ้นตามร่างกายและไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร
เมื่อไหร่ที่ต้องพบแพทย์
ผู้ที่ไม่แน่ใจว่าสาเหตุของผื่นนั้นมาจากอะไร และคิดว่าตัวเองอาจจะได้รับเชื้อไวรัส HIV ก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ และแจ้งอาการและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น เพราะเพียงผื่นที่ผิวหนังยังไม่สามารถชี้ชัดการติดเชื้อ HIV ได้ การวินิจฉัยที่เชื่อเถือได้ทางการแพทย์จำเป็นต้องอาศัยชุดตรวจเลือดในการคัดกรองหาสารประกอบในเลือดในการวินิจฉัยร่วมด้วย
เชื้อไวรัส HIV มักจะติดต่อหากันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การป้องกันการติดเชื้อคือสิ่งที่ดีที่สุด คุณจึงต้องรู้จักป้องกันตนเอง สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ไม่ใช้ยาเสพติด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อไวรัส HIV
ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ที่นี่ เพราะคุณสำคัญ เอดส์ รู้ก่อนรักษาได้